วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

อาชีพในชุมชน เครื่องถมนคร

เครื่องถมนคร เครื่องถมนครเป็นหัตถกรรมสำคัญของนครศรีธรรมราชที่มีชื่อเสียง และเป็นที่รู้จัก แพร่หลายมาแต่อดีต
                                     



เครื่องถมเมืองนครฯ มี 2 ชนิด คือ ถมดำ ซึ่งจะมีลวดลายเป็นสีขาว พื้นเป็นสีดำ และถมทองหรือ ถมทาทอง ซึ่งจะมีลวดลายเป็นสีทอง พื้นเป็นสีดำ ปัจจุบันมีการสอนการทำหัตถกรรมเครื่องถมที่วิทยาลัย- อาชีวศึกษานครศรีธรรมราช วิทยาเขต 3 สังกัดกรมอาชีวศึกษา

       เครื่องถมนครที่ได้รับความนิยมจนปัจจุบัน เนื่องจากยังรักษาคุณภาพไว้ได้ ลวดลายต่าง ๆ ยังสลัก ด้วยมือ น้ำยาถมนครก็มีสีดำสนิทเป็นเงา สินค้าเครื่องถม ได้แก่ แหวน ล็อกเกต กำไล ขัน พาน ถาด ซึ่งเป็น การทำโดยใช้มือทั้งสิ้น บริเวณที่มีเครื่องถมขายมาก ปัจจุบันคือ ถนนท่าช้าง หลังสโมสรข้าราชการ บริเวณ- วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร เทศบาลเมืองนครศรีธรรมราชและในบริเวณตลาดท่าวัง




เครื่องทองเหลือง ที่หมู่บ้านไทย-อิสลาม สวนมะพร้าว หลังวัดมหา-ธาตุวรมหาวิหาร ปัจจุบันมีผลิตกระ-บอกรีดเส้นขนมจีนอย่างเดียว

        หนังตะลุง การแกะหนังตะลุงเป็นศิลปะหัตถกรรมที่ควบคู่กับ การเล่นหนังตะลุงของภาคใต้ ตัวหนังตะลุงของไทยได้ดัดแปลงแก้ไขรูปร่างตัวหนังตะลุงของชวา ให้เป็นแบบศิลปะตามแบบของไทย มือเท้าของตัวหนังสามารถเคลื่อนไหวได้ขณะเชิด
หนังที่ใช้แกะทำหนังตะลุงจะใช้หนังลูกวัวหรือหนังแพะดิบ วิธีแกะจะใช้สิ่วขนาดต่าง ๆ ตอกสลัก ตามลวดลาย ที่ได้รับการออกแบบไว้แล้ว ราคาหนังแต่ละตัวจะต่างกันขึ้นอยู่กับความประณีตของงานและ ขนาดของตัวหนัง ปัจจุบันหนังตะลุงเป็นสินค้าเอกลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของนครศรีธรรมราชและพัทลุง โดยเฉพาะในตัวเมืองนครฯ มีร้านแกะสลักและจำหน่ายตัวหนังตะลุงมากมาย
ผ้ายกนคร ผ้ายกนครเป็นผ้าทอที่มีชื่อเสียงของนครศรีธรรมราช ตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตอนต้น ผ้ายกนครทอได้หลายชนิด แต่ละชนิดมีดอกและลวดลายของตัวเอง เช่น ผ้าตา ผ้าเก้ากี่ ผ้าราชวัต ผ้าห่ม เป็นต้น

      แหล่งทอผ้าที่มีชื่อเสียง ได้แก่ บ้านนาสาร บ้านม่วงขาว บ้านมะม่วงสองต้น และในตัวเมืองนครฯ แต่ปัจจุบันหาดูได้ยาก เนื่องจากขาดการส่งเสริมและผ้าราคาแพง
เครื่องใช้ย่านลิเภา การทำเครื่องใช้ด้วยย่านลิเภา เป็นศิลปหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงอีกอย่างหนึ่งของ ปักษ์ใต้ โดยเฉพาะจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นงานฝีมือที่มีมานานมากกว่า 100 ปี และในปัจจุบันมีการ ฟื้นฟูกันขึ้นมาจนได้รับความนิยมอีกครั้งหนึ่ง
ย่านนิเภาหรือย่านลิเภา บางท้องถิ่นเรียกว่า ย่านยายเภา หรือย่านเภา หรือย่านลำเภา เป็นพืชเถาที่ขึ้น ในที่ดอนชอบขึ้นปะปนเลื้อยเกาะกับพืชอื่น ลำต้นเหนียวมีความทนทาน ชาวบ้านจึงนำมาสานเป็นเครื่อง ใช้สอยแทนหวาย เช่น กระเป๋าถือ กล่องยาเส้น ปั้นชา เป็นต้น บางชิ้นจะมีการเลี่ยมนาก เงิน ถมทอง หรือ ทอง การสานผลิตภัณฑ์ย่านลิเภาแต่ละชิ้นจะใช้เวลาราว 10 วัน จนถึงแรมเดือน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความละเอียด ของลวดลายและความประณีต
แหล่งผลิตสิ่งของจากย่านลิเภาในจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ ในเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช เรือนจำอำเภอปากพนัง ครอบครัวทหารในค่ายวชิราวุธ ชาวบ้านในอำเภอท่าศาลา อำเภอเมืองนครศรี- ธรรมราช ที่ศูนย์ศิลปาชีพพิเศษบ้านท่าเรือ และศูนย์หัตถกรรมสิ่งทอ บ้านหมน อำเภอเมือง
พัดใบกะพ้อ อยู่ที่หมู่บ้านอำเภอร่อนพิบูลย์ ทำพัดใบกะพ้อส่งจำหน่ายทั่วทั้งประเทศเป็นหัตถกรรม ที่มีชื่อเสียงอีกอย่างหนึ่งของจังหวัด

       สร้อยเงินและสามกษัตริย์ เป็นงานที่ตกทอดกันมาช้านาน ด้านฝีมือช่างเงินของชาวนครศรีธรรม- ราชที่ประดิษฐ์ถักร้อยสร้อยนานาชนิด มีทั้ง เงิน ทอง และสามกษัตริย์ (คือ เงิน ทอง นาก) มีศูนย์รวมอยู่ ถนนท่าช้าง หลังสนามหน้าเมือง