วันศุกร์ที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554


                                   เดินทางไปชายแดนเพื่อป้งกันประเทศ

                                     คนนี้ไปดูสถานการณ์ชายแดน ไทย-กัมพูชา

                          คุณ กัลญา อ่อนศรี ให้ความรู้แก่นักศึกษา

                                   ก่อนจะฟังความรู้จากคุณ กัลยา ต้องทำความสะอาดสถานที่ก่อน


                                  ฟังต่อกับคุณ วรพล กรรมการกลุ่ม


                                        การเลี้ยงหมูหลุม ของคุณ กัลญา

                                       บ้านพ่อ คำเดื่อง

                                  พ่อคำเดื่อง ถ่ายทอดความรู้ให้นักศึกษา


                                    กลุ่มทอผ้าใหม

                                       วิธีการทอผ้าใหม

                                      ใหมที่ย้อมเสร็จ เตรียมนำไปทอ


                                         ผ้าใหมที่ทอเสร็จแล้ว

วันพุธที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2554

ต้องการผู้ร่วมงานกับเรา

                                       ประกาศรับสมัคงาน
     
           หลายอัตตรา
                          1.พนักงานขายสินค้า
                          2.พนักงานการตลาด
                          3.ประชาสัมพันธ์
                          4.ช่างทำเครื่องถม
                          5.ช่างแกะตัวหนัง
     
           คุณสมบัติ
                         -มีความรักในอาชีพ
                         -บุคลิกดี
                         -มีความรู้ในงานที่ทำ
                         -ชาย  หญิง  20ปีขึ้นไป
                         -จบ ม.6 ขึ้นไป
                         -มีประสบการณ์ในการทำงาน2ปี
                         -สามารถฟังพูดอ่านเขียนภาษาอักได้   
                          (จะพิจารณาเป็นพิเศษ)

วันอังคารที่ 25 มกราคม พ.ศ. 2554

การทำตัวหนังตะลุง

ภาพ:Kanang_1.jpg

   หนังตะลุง คือ ศิลปะการแสดงประจำท้องถิ่นอย่างหนึ่งของภาคใต้ เป็นการเล่าเรื่องราวที่ผูกร้อยเป็นนิยาย ดำเนินเรื่องด้วยบทร้อยกรองที่ขับร้องเป็นสำเนียงท้องถิ่น หรือที่เรียกกันว่าการ "ว่าบท" มีบทสนทนาแทรกเป็นระยะ และใช้การแสดงเงาบนจอผ้าเป็นสิ่งดึงดูดสายตาของผู้ชม ซึ่งการว่าบท การสนทนา และการแสดงเงานี้ นายหนังตะลุงเป็นคนแสดงเองทั้งหมด

          รูปหนัง เป็นอุปกรณ์สำคัญในการแสดงหนังตะลุง หนังคณะหนึ่งๆ ใช้รูปหนังประมาณ 150-200 ตัว หนังตะลุงแกะโดยนายช่างผู้ชำนาญ ในจังหวัดหนึ่งๆ ของภาคใต้ มีเพียง 2-3 คนเท่านั้น ต้นแบบได้มาจากรูปหนังใหญ่ เพราะรูปเก่าแก่ที่เหลืออยู่เท้าเหยียบนาค มีอายุกว่า 100 ปีไปแล้ว ต้นแบบสำคัญคือรูปเรื่องรามเกียรติ์ที่ฝาผนังรอบวัดพระแก้ว ผสมผสานกับรูปหนังของชวา ทำให้รูปกะทัดรัดขึ้นและมือหน้าเคลื่อนไหวได้ รูปหนังจะจัดเก็บไว้ใน แผงหนัง โดยวางเรียงอย่างเป็นระเบียบและตามศักดิ์ของรูป นั่นคือ เอารูปเบ็ดเตล็ดและรูปตลกที่ไม่สำคัญซึ่งเรียกรวมกันว่า รูปกาก ไว้ล่าง ถัดขึ้นมาเป็นรูปยักษ์ พระ นาง เจ้าเมือง ตัวตลกสำคัญ รูปปรายหน้าบท พระอิศวร และฤาษี ตามลำดับ
         กรุงเทพมหานคร เป็นศูนย์กลางแห่งศิลปะ ช่างภาคใต้ที่ไปพบเห็นก็ถ่ายทอดมาเป็นแบบ ช่างราม เป็นช่างแกะรูปหนังที่เก่าแก่คนหนึ่งของจังหวัดพัทลุง นอกจากแกะให้หนังภายในจังหวัดแล้ว ยังแกะให้หนังต่างจังหวัดด้วย รูปของช่างรามได้รับยกย่องว่าเป็นเลิศ แม้ถึงแก่กรรมไปประมาณ 60 ปีแล้ว ชื่อเสียงของท่านทางศิลปะยังมีผู้คนกล่าวขานถึงอยู่ท่านเลียนแบบรูปภาพ เรื่องรามเกียรติ์ที่วัดพระแก้วเริ่มแรกก็แกะรูปที่ นำไปแสดงเรื่องรามเกียรติ์อย่างเดียวจึงได้ชื่อว่า"ช่างราม" ครั้งหนึ่งท่านส่งรูปหนุมานเข้าประกวด ดูผิวเผินสวยงามมาก หัวของวานร ต้องเกิดจากวงกลม แต่ของช่างรามไม่อยู่ในกรอบของวงกลม จึงไม่ได้รับรางวัล
         การละเล่นพื้นเมืองที่ได้ชื่อว่า"หนัง" เพราะผู้เล่นใช้รูปหนังประกอบการเล่านิทานหลังเงา การแกะรูปหนังตัวสำคัญ เช่น ฤาษี พระอิศวร พระอินทร์ นางกินรี ยังคงเหมือนเดิม แต่รูปอื่นๆ ได้วิวัฒนาการไปตามสมัยนิยมของผู้คน เช่น ทรงผม เสื้อผ้า รูปหนังรุ่นแรกมีขนาดใหญ่รองจากรูปหนังใหญ่ฉลุลวดลายงดงามมาก เป็นรูปขาวดำ แล้วค่อยเปลี่ยนรูปให้มีขนาดเล็กลง ระบายสีให้ดูสะดุดตายิ่งขึ้น
         สมัยจอมพล ป. พิบูลย์สงคราม เคร่งครัดทางด้านวัฒนธรรมมาก ออกเป็นรัฐนิยมหลายฉบับ ยักษ์นุ่งกางเกงขายาว สวมหมวก รูปตลก รูปนาง รูปพระสวมหมวก สวมเสื้อ นุ่งกางเกง นุ่งกระโปรง รูปหนังที่ออกมาแต่งกายมีผิดวัฒนธรรม ตำรวจจะจับและถูกปรับทันที
         การแกะรูปหนังสำหรับเชิดหนัง ให้เด่นทางรูปทรงและสีสัน เมื่อทาบกับจอผ้า แสงไฟช่วยให้เกิดเงาดูเด่นและสะดุดตา กรรมวิธีแกะรูปหนังแบบพื้นบ้านนำหนังวัวหนังควายมาฟอก ขูดให้เกลี้ยงเกลา หนังสัตว์ชนิดอื่นก็นิยมใช้บ้าง เช่น หนังเสือใช้แกะรูปฤาษีประจำโรงเป็นเจ้าแผง
         ในปัจจุบัน รูปหนังแกะจากหนังวัวอย่างเดียว ซื้อหนังจากร้านค้าที่ฟอกสำเร็จรูปอยู่แล้ว ทั้งสามารถเลือกหนังหนา บาง ได้ตามความต้องการ นายช่างวางหนังลงบนพื้นเขียงที่มีขนาดใหญ่ ใช้เหล็กปลายแหลมวาดโครงร่าง และรายละเอียดของรูปตามที่ต้องการลงบนผืนหนัง ใช้แท่งเหล็กกลมปลายเป็นรูคม เรียกว่า "ตุ๊ดตู่" ตอกลายเป็นแนวตามที่ใช้เหล็กแหลมร่างไว้ ส่วนริมนอกหรือส่วนที่เป็นมุมเป็นเหลี่ยมและกนกลวดลายอันอ่อนช้อย ต้องใช้มีดปลายแหลมคมยาวประมาณ 2 นิ้ว มีด้ามกลมรี พอจับถนัดมือขุดแกะ ทั้งตุ๊ดตู่และมีดขุดแกะมีหลายขนาด เมื่อทำลวดลายตามที่ร่างไว้เสร็จตัดออกจากแผ่นหนัง เรียกว่ารูปหนัง รูปใดนายช่างเห็นว่าได้สัดส่วนสวยงาม นายช่างจะเก็บไว้เป็นแม่แบบ เพียงแตะระบายสีให้แตกต่างกัน รูปที่นิยมเก็บไว้เป็นแบบ มีรูปเจ้าเมือง นางเมือง รูปยักษ์ รูปวานร รูปพระเอก รูปนางเอก นำรูปแม่แบบมาทาบหนัง แกะไปตามรูปแม่แบบ ประหยัดเวลา และได้รูปสวยงาม ผลิตได้รวดเร็ว สีที่ใช้ระบายรูปหรือลงสี นิยมใช้น้ำหมึก สีย้อมผ้า สีย้อมขนม มีสีแดง เหลือง แสด ชมพู ม่วง เขียว น้ำเงิน และสีดำ ต้องผสมสีหรือละลายสีให้เข้มข้น ใช่พู่กันขนาดต่างๆ จุ่มสีระบาย ต้องระบายเหมือนกันทั้ง 2 หน้า ระวังไม่ให้สีเปื้อน สีซึมเข้าในเนื้อของหนังเร็ว ลบออกไม่ได้
         ช่างแกะรูปต้องมีความรู้ประวัติที่มาของรูป ศึกษาแบบของรูป จากรูปจริง จากรูปภาพ การเปลี่ยนอิริยาบทของรูปได้อย่างถูกต้อง การเบิกตา เบิกปากรูปต้องใช้เวทมนต์ประกอบด้วย ที่สำคัญต้องมีสมาธิอย่างแน่วแน่ เศษหนัง ทำเป็นมือรูป ริมฝีปากล่าง อาวุธต่างๆ ใช้ร้อยมือให้ติดกันเป็น 3 ท่อน เพื่อให้มือเคลื่อนไหวได้
         เมื่อสีแห้งสนิทแล้ว ลงน้ำมันยางใส เพื่อให้รูปเกิดเงาวาววับ เดี๋ยวนี้หาน้ำมันยางไม่ได้ ใช้น้ำมันชักเงาแทน จากนั้นติดไม้ตับ ติดไม้มือ รูปที่ชักปากได้ ติดคันเบ็ดผูกเชือกชักปาก เป็นอันว่าเป็นรูปหนังที่สมบูรณ์ ช่างแกะรูปหนัง นอกจากแกะจำหน่ายแก่คณะหนังตะลุงแล้ว ยังแกะจำหน่ายทั่วไป เพื่อนำไปประดับประดา อาคารบ้านเรือน ชาวต่างชาตินิยมกันมาก แต่ต้องทำอย่างประณีต บรรจง จึงจะจำหน่ายได้ราคาดี ช่างแกะรูปหนังหาความร่ำรวยมิได้ เพียงแต่พอดำรงชีพอยู่ได้เท่านั้น

ตัวตลกเอก
        ตัวตลกเอก หมายถึง ตัวตลกที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักทั่วไป นายหนังคณะต่างๆหลายคณะนิยมนำไปแสดง มีดังต่อไปนี้

1. อ้ายเท่ง
       หนังจวนบ้านคูขุดเป็นคนสร้าง โดยเลียนแบบบุคลิกมาจากนายเท่ง ซึ่งเป็นชาวบ้านอยู่บ้านคูขุด อำเภอสะทิ้งพระ จังหวัดสงขลา เป็นคนรูปร่างผอมสูง ลำตัวท่อนบนยาวกว่าท่อนล่าง ผิวดำ ปากกว้าง หัวเถิก ผมหยิกงอ ใบหน้าคล้ายนกกระฮัง ลักษณะเด่นคือ นิ้วมือขวายาวโตคล้ายอวัยวะเพศผู้ชาย ส่วนนิ้วชี้กับหัวแม่มือซ้ายงอหยิกเป็นวงเข้าหากัน รูปอ้ายเท่งไม่สวมเสื้อ นุ่งผ้าโสร่งตาหมากรุก มีผ้าขาวม้าคาดพุง มีมีดอ้ายครก(มีดปลายแหลม ด้ามงอโค้ง มีฝัก)เหน็บที่สะเอว เป็นคนพูดจาโผงผาง ไม่เกรงใจใคร ชอบข่มขู่และล้อเลียนผู้อื่น เป็นคู่หูกับอ้ายหนูนุ้ย เป็นตัวตลกที่นายหนังเกือบทุกคณะนิยมนำไปแสดง
2. อ้ายหนูนุ้ย
         ไม่มีบันทึกว่าใครเป็นคนสร้าง หนูนุ้ยมีบุคลิกซื่อแกมโง่ ผิวดำ รูปร่างค่อนข้างเตี้ย พุงโย้ คอตก ทรงผมคล้ายแส้ม้า จมูกปากยื่นคล้ายปากวัว ไว้เคราหนวดแพะ รูปอ้ายหนูนุ้ยไม่สวมเสื้อ นุ่งผ้าโสร่งไม่มีลวดลาย ถือมีดตะไกรหนีบหมากเป็นอาวุธ พูดเสียงต่ำสั่นเครือขึ้นนาสิก เป็นคนหูเบาคล้อยตามคำยุยงได้ง่าย แสดงความซื่อออกมาเสมอ ไม่ชอบให้ใครพูดเรื่องวัว เป็นคู่หูกับอ้ายเท่ง และเป็นตัวตลกที่นายหนังทุกคณะนิยมนำไปแสดงเช่นกัน
 3. นายยอดทอง
         ไม่มีบันทึกว่าใครเป็นคนสร้าง แต่เชื่อกันว่าเป็นชื่อคนที่เคยมีชีวิตอยู่จริง เป็นชาวจังหวัดพัทลุง รูปร่างอ้วน ผิวดำ พุงย้อย ก้นงอน ผมหยิกเป็นลอน จมูกยื่น ปากบุ๋ม เหมือนปากคนแก่ไม่มีฟัน หน้าเป็นแผลจนลายคล้ายหน้าจระเข้ ใครพูดถึงเรื่องจระเข้จึงไม่พอใจ รูปยอดทองไม่สวมเสื้อ นุ่งผ้าลายโจงกระเบน เหน็บกริชเป็นอาวุธประจำกาย เป็นคนเจ้าชู้ ใจเสาะ ขี้ขลาด ชอบปากพูดจาโอ้อวดยกตน ชอบขู่หลอก พูดจาเหลวไหล บ้ายอ ชอบอยู่กับนายสาว จนมีสำนวนชาวบ้านว่า "ยอดทองบ้านาย" เป็นคู่หูกับนายสีแก้ว

4.นายสีแก้ว 

         ไม่มีบันทึกว่าใครเป็นคนสร้าง แต่เชื่อกันว่าเอาบุคลิกมาจากคนชื่อสีแก้วจริงๆ เป็นคนมีตะบะ มือหนัก เวลาโกรธใครจะตบด้วยมือหรือชนด้วยศรีษะ เป็นคนกล้าหาญ พูดจริงทำจริง ชอบอาสาเจ้านายด้วยจริงใจ ตักเตือนผู้อื่นให้ปฏิบัติดีปฏิบัติชอบตามทำนองคลองธรรม เป็นคนรูปร่างอ้วนเตี้ย ผิวคล้ำ มีโหนกคอ ศรีษะล้าน นุ่งผ้าโจงกระเบนลายตาหมากรุก ไม่สวมเสื้อ ไม่ถืออาวุธใดๆ ใครพูดล้อเลียนเกี่ยวกับเรื่องพระ เรื่องร้อน เรื่องจำนวนเงินมากๆ จะโกรธทันที พูดช้าๆ ชัดถ้อยชัดคำ เพื่อนคู่หูคือนายยอดทอง

 5. อ้ายสะหม้อ

         หนังกั้น ทองหล่อเป็นคนสร้าง เลียนแบบบุคลิกมาจากมุสลิมชื่อสะหม้อ เป็นคนบ้านสะกอม อำเภอจะนะ จังหวัดสงขลา ซึ่งนายสะหม้อเองก็รับรู้และอนุญาตให้หนังกั้นนำบุคลิกและเรื่องราวของตนไปสร้างเป็นตัวละครได้ รูปอ้ายสะหม้อหลังโกง มีโหนกคอ คางย้อย ลงพุง รูปร่างเตี้ย สวมหมวกแบบมุสลิม นุ่งผ้าโสร่ง ไม่สวมเสื้อ เป็นคนอวดดี ชอบล้อเลียนคนอื่น เป็นมุสลิมที่ชอบกินหมู ชอบดื่มเหล้า พูดสำเนียงเนิบนาบ รัวปลายลิ้น ซึ่งสำเนียงของคนบ้านสะกอม มีนายหนังหลายคนนำอ้ายสะหม้อไปเล่น แต่ไม่มีใครพากย์สำเนียงสะหม้อได้เก่งเท่าหนังกั้น ปกติสะหม้อจะเป็นคู่หูกับขวัญเมือง

 6. อ้ายขวัญเมือง

         เป็นตัวตลกเอกของหนังจันทร์แก้ว จังหวัดนครศรีธรรมราช ไม่มีประวัติความเป็นมา คนในจังหวัดนครศรีธรรมราชจะไม่เรียกว่า "อ้ายเมือง" เหมือนนายหนังจังหวัดอื่นๆ แต่เรียกว่า "ลุงขวัญเมือง" ซึ่งแสดงให้เห็นว่าหากตัวตลกตัวนี้นำบุคลิกมาจากคนจริง ก็คงเป็นคนที่ได้รับการยกย่องจากคนในท้องถิ่นอย่างสูงทีเดียว อ้ายขวัญเมืองหน้าคล้ายแพะ ผมบางหยิกเล็กน้อย ผิวดำ หัวเถิก จมูกโด่งโตยาว ปากกว้าง พุงยานโย้ ก้นเชิด ปลายนิ้วชี้บวมโตคล้ายนิ้วอ้ายเท่ง นุ่งผ้าสีดำ คาดเข็มขัด ไม่สวมเสื้อ เป็นคนซื่อ แต่บางครั้งก็ฉลาด ขี้สงสัยใคร่รู้เรื่องคนอื่น พูดเสียงหวาน
         นายหนังในจังหวัดสงขลามักนำขวัญเมืองมาเป็นคู่หูกับสะหม้อ นายหนังในจังหวัดนครศรีธรรมราชแถวอำเภอเชียรใหญ่ อ.หัวไทร อ.ปากพนัง อ.ท่าศาลา มักให้ขวัญเมืองแสดงคู่กับนายยอดทอง หนังพัทลุง ตรัง นิยมให้เป็นตัวบอกเรื่อง เฝ้าประตูเมือง หรือเป็นพนักงานตีฆ้องร้องป่าว

 7. อ้ายโถ

         ไม่มีบันทึกว่าใครเป็นคนสร้าง เลียนแบบบุคลิกมาจากจีนบ๋าบา ชาวพังบัว อำเภอสะทิ้งพระ จังหวัดสงขลา เป็นคนที่มีศรีษะเล็ก ตาโตถลน ปากกว้าง ริมฝีปากล่างเม้มเข้าไป ลำตัวป่องกลม สวมหมวกมีกระจุกข้างบน นุ่งกางเกงจีนถลกขา ถือมีดบังตอเป็นอาวุธ เป็นคนชอบร้องรำทำเพลง ขี้ขลาดตาขาว โกรธใครไม่เป็น อ้ายโถมีคติประจำใจว่า "เรื่องกินเรื่องใหญ่" ไม่ว่าใครจะพูดเรื่องอะไรก็ตาม โถสามารถดึงไปโยงกับของกินได้เสมอ ซึ่งเป็นมุกตลกที่นับว่ามีเสน่ห์ไม่น้อย เพราะไม่ลามกหยาบคาย จึงเป็นตัวตลกที่ดึงความสนใจจากเด็กๆได้มาก อ้ายโถเป็นเพียงตัวตลกประกอบ มักเล่นคู่กับอ้ายสะหม้อ

วันอังคารที่ 7 ธันวาคม พ.ศ. 2553

อาชีพในชุมชน เครื่องถมนคร

เครื่องถมนคร เครื่องถมนครเป็นหัตถกรรมสำคัญของนครศรีธรรมราชที่มีชื่อเสียง และเป็นที่รู้จัก แพร่หลายมาแต่อดีต
                                     



เครื่องถมเมืองนครฯ มี 2 ชนิด คือ ถมดำ ซึ่งจะมีลวดลายเป็นสีขาว พื้นเป็นสีดำ และถมทองหรือ ถมทาทอง ซึ่งจะมีลวดลายเป็นสีทอง พื้นเป็นสีดำ ปัจจุบันมีการสอนการทำหัตถกรรมเครื่องถมที่วิทยาลัย- อาชีวศึกษานครศรีธรรมราช วิทยาเขต 3 สังกัดกรมอาชีวศึกษา

       เครื่องถมนครที่ได้รับความนิยมจนปัจจุบัน เนื่องจากยังรักษาคุณภาพไว้ได้ ลวดลายต่าง ๆ ยังสลัก ด้วยมือ น้ำยาถมนครก็มีสีดำสนิทเป็นเงา สินค้าเครื่องถม ได้แก่ แหวน ล็อกเกต กำไล ขัน พาน ถาด ซึ่งเป็น การทำโดยใช้มือทั้งสิ้น บริเวณที่มีเครื่องถมขายมาก ปัจจุบันคือ ถนนท่าช้าง หลังสโมสรข้าราชการ บริเวณ- วัดมหาธาตุวรมหาวิหาร เทศบาลเมืองนครศรีธรรมราชและในบริเวณตลาดท่าวัง




เครื่องทองเหลือง ที่หมู่บ้านไทย-อิสลาม สวนมะพร้าว หลังวัดมหา-ธาตุวรมหาวิหาร ปัจจุบันมีผลิตกระ-บอกรีดเส้นขนมจีนอย่างเดียว

        หนังตะลุง การแกะหนังตะลุงเป็นศิลปะหัตถกรรมที่ควบคู่กับ การเล่นหนังตะลุงของภาคใต้ ตัวหนังตะลุงของไทยได้ดัดแปลงแก้ไขรูปร่างตัวหนังตะลุงของชวา ให้เป็นแบบศิลปะตามแบบของไทย มือเท้าของตัวหนังสามารถเคลื่อนไหวได้ขณะเชิด
หนังที่ใช้แกะทำหนังตะลุงจะใช้หนังลูกวัวหรือหนังแพะดิบ วิธีแกะจะใช้สิ่วขนาดต่าง ๆ ตอกสลัก ตามลวดลาย ที่ได้รับการออกแบบไว้แล้ว ราคาหนังแต่ละตัวจะต่างกันขึ้นอยู่กับความประณีตของงานและ ขนาดของตัวหนัง ปัจจุบันหนังตะลุงเป็นสินค้าเอกลักษณ์ที่สำคัญอย่างหนึ่งของนครศรีธรรมราชและพัทลุง โดยเฉพาะในตัวเมืองนครฯ มีร้านแกะสลักและจำหน่ายตัวหนังตะลุงมากมาย
ผ้ายกนคร ผ้ายกนครเป็นผ้าทอที่มีชื่อเสียงของนครศรีธรรมราช ตั้งแต่สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ตอนต้น ผ้ายกนครทอได้หลายชนิด แต่ละชนิดมีดอกและลวดลายของตัวเอง เช่น ผ้าตา ผ้าเก้ากี่ ผ้าราชวัต ผ้าห่ม เป็นต้น

      แหล่งทอผ้าที่มีชื่อเสียง ได้แก่ บ้านนาสาร บ้านม่วงขาว บ้านมะม่วงสองต้น และในตัวเมืองนครฯ แต่ปัจจุบันหาดูได้ยาก เนื่องจากขาดการส่งเสริมและผ้าราคาแพง
เครื่องใช้ย่านลิเภา การทำเครื่องใช้ด้วยย่านลิเภา เป็นศิลปหัตถกรรมที่มีชื่อเสียงอีกอย่างหนึ่งของ ปักษ์ใต้ โดยเฉพาะจังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นงานฝีมือที่มีมานานมากกว่า 100 ปี และในปัจจุบันมีการ ฟื้นฟูกันขึ้นมาจนได้รับความนิยมอีกครั้งหนึ่ง
ย่านนิเภาหรือย่านลิเภา บางท้องถิ่นเรียกว่า ย่านยายเภา หรือย่านเภา หรือย่านลำเภา เป็นพืชเถาที่ขึ้น ในที่ดอนชอบขึ้นปะปนเลื้อยเกาะกับพืชอื่น ลำต้นเหนียวมีความทนทาน ชาวบ้านจึงนำมาสานเป็นเครื่อง ใช้สอยแทนหวาย เช่น กระเป๋าถือ กล่องยาเส้น ปั้นชา เป็นต้น บางชิ้นจะมีการเลี่ยมนาก เงิน ถมทอง หรือ ทอง การสานผลิตภัณฑ์ย่านลิเภาแต่ละชิ้นจะใช้เวลาราว 10 วัน จนถึงแรมเดือน ทั้งนี้ ขึ้นอยู่กับความละเอียด ของลวดลายและความประณีต
แหล่งผลิตสิ่งของจากย่านลิเภาในจังหวัดนครศรีธรรมราช ได้แก่ ในเรือนจำกลางนครศรีธรรมราช เรือนจำอำเภอปากพนัง ครอบครัวทหารในค่ายวชิราวุธ ชาวบ้านในอำเภอท่าศาลา อำเภอเมืองนครศรี- ธรรมราช ที่ศูนย์ศิลปาชีพพิเศษบ้านท่าเรือ และศูนย์หัตถกรรมสิ่งทอ บ้านหมน อำเภอเมือง
พัดใบกะพ้อ อยู่ที่หมู่บ้านอำเภอร่อนพิบูลย์ ทำพัดใบกะพ้อส่งจำหน่ายทั่วทั้งประเทศเป็นหัตถกรรม ที่มีชื่อเสียงอีกอย่างหนึ่งของจังหวัด

       สร้อยเงินและสามกษัตริย์ เป็นงานที่ตกทอดกันมาช้านาน ด้านฝีมือช่างเงินของชาวนครศรีธรรม- ราชที่ประดิษฐ์ถักร้อยสร้อยนานาชนิด มีทั้ง เงิน ทอง และสามกษัตริย์ (คือ เงิน ทอง นาก) มีศูนย์รวมอยู่ ถนนท่าช้าง หลังสนามหน้าเมือง